สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา บริการสารสนเทศ รหัสวิชา 203707
เมื่อ วันเสาร์ ที่ 25 มิถุนายน 2554
(ที่มา : http://www.gotoknow.org/blog/knowplus/214147) (ที่มา : http://lib07.kku.ac.th/asklib/)
บริการ ยืม- คืน หรือ จ่าย- รับ (Circulation Service)
เป้าหมายหลัก
- เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงงานบริการสารสนเทศ
- นำไปศึกษาค้นคว้านอกสถาบันได้
ปรัชญาของงานบริการ ยืม – คืน
- ให้ความเท่าเทียม และเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในหอสมุด (Guarantee equaland fair to the library collection)
- กำหนดนโยบายและระเบียบโดยมีวัตถุประสงค์ ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด (Therefore, librarians determine circulation policies and routines with the goal of providing maximum access to the materials )
บทบาทหน้าที่ของบริการ ยืม- คืน
1. ควบคุมการยืม – คืน เป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดสมัยใหม่ สืบเนื่องมาจากภารกิจของห้องสมุดรวมทั้งเป้าหมายขององค์กร สิทธิความเท่าเทียม และตอบสนองความต้องการสารสนเทศได้ (Librarians access: We provide timely, convenience, equal access to materials )
2. การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด คือ จุดแรกที่มองเห็น การมาติดต่ออย่างมากในห้องสมุด ความประทับใจ การให้ความช่วยเหลือ และการบริการที่ได้รับจึงมีผลกระทบต่อผู้มาใช้บริการ ซึ่งบริการนี้อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการห้องสมุด (Its role in influencing the user opinion regarding the quality of the library service)
การประชาสัมพันธ์
1. จุดที่มีการบริการทั้งหมด ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ (Almost every transaction a library is an act of customer relations)
2. ผู้ใช้คาดหวังกับเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในทุกๆเรื่อง (Patrons expect library staff to knew everything)
สาเหตุที่ผู้มารับบริการไม่พึงพอใจ
1. หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ
2. ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดการส่ง
3. ระยะเวลาในการยืมสั้น
4. จำกัดครั้งในการยืม
5. ค่าปรับ
6. เสียงรบกวน
7. ไม่พอใจการบริการของบรรณารักษ์
8. ร้อน หรือ เย็นเกินไป
9. กลิ่นไม่พึงประสงค์
10. อุปการณในสำนักงานไม่ทำงาน หรือ ชำรุด
การจัดการ
1. ห้องสมุดขนาดเล็ก บรรณารักษ์ ทำหน้าที่ดูแลงาน เจ้าหน้าที่ กำหนดนโยบาย ขั้นตอนการดำเนินงาน ระเบียบ และแนะนำดุแลการทำงานของเจ้าหน้าที่
2. ห้องสมุดขนาดใหญ่ มีหัวหน้าแผนก ดูแลบรรณารักษ์ โดยบรรณารักษ์ ดูแลงานด้านการจัดการ
3. ห้องสมุดขนาดใหญ่มาก จะมีหัวหน้างาน ดูแลภายใต้การควบคุมของ รองผู้จัดการบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่ดูแลหอสมุด
ค่าปรับ
1. เพื่อกระจายการเข้าถึงให้ผู้อื่น
2. การมีความรับผิดชอบ
3. มีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งคืนตามเวลาที่กำหนด
การจัดการปัญหาในการปรับ
1. มีการยกเว้น
2. มีการผ่อนผัน
3. หากไม่มีการส่งคืนและจ่ายค่าปรับ สิทธิในการใช้ห้องสมุดจะถูกระงับ
4. ห้องสมุดจะขอระงับการออก transcript หรือ ระงับการสำเร็จการศึกษา
การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้
1. เพื่อจำแนกว่าใครบ้างที่มีสิทธิยืมทรัพยากร หรือมีสิทธิใช้บริการของสถาบัน บริการสารสนเทศ
2. ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร แจ้งการจอง
3. สถาบันสารสนเทศจำเป็นต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย และลักษณะ ของกลุ่มเป้าหมาย และบริการ
เทคโนโลยี บาร์โค๊ด (Bar code)
1. บริการ ยืม – คืน
2. งานทะเบียนผู้ใช้ (บัตรสมาชิก)
3. เลขเรียกหนังสือ
4. เลขทะเบียน
5. ชื่อหนังสือติดอยู่บนหนังสือ