บริการแนะนำ


สิ่งได้จากการเรียนรู้รายวิชาบริการสารสนเทศ 023707 ในวันที่ 28 สิงหาคม 2554
บริการแนะนำ (Guidance Services)
มุ่งเน้นใน 2 ระดับด้วยกัน คือ
-   ห้องสมุดประชาชน
-   ห้องสมุดทั่วไป


                                            http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuanny&month=09-12008&group=2&gblog=1
 คือ จะเน้นในด้านการช่วยเลือกขณะสืบค้น เน้นการเลือกทรัพยากรมากกว่าการสอนให้ใช้เป็น โดยบรรณารักษ์ฝ่ายที่ทำหน้าที่ดูแลในส่วนนี้ คือ บรรณารักษ์อ้างอิง
ประเภทของบริการแนะนำ
         1.  แนะนำการอ่าน (Readers ‘ Advisory Services)
บริการช่วยเหลือสารสนเทศที่เหมาะสมกับผู้ใช้หรือแนะนำการเลือกสารสนเทศ
การอ่านเป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาตลอดเวลา
คนที่อ่านหนังสือไม่ดีไม่ต่างกันกับคนที่อ่านหนังสือไม่ออก
Book Trailer การแนะนำหนังสือ
Book Club วิธีการตั้งสโมสรโรงเรียน
         2.  บริการอ่านบำบัด (Bibliothearaphy)
อ่านเพื่อปรับปรุงและพัฒนาจิตใจ ความคิด เนื้อหาหนังสือ เป็นสิ่งที่สามารถผ่อนคลายอารมณ์ ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาด้านจิตวิทยา
กระบวนการของสมองในการอ่าน
1  กระบวนการทางกายภาพ
2  กระบวนหารทางระบบสมอง
       3.  บริการปรึกษาแนะนำการทำรายการ (Term Paper Consulting)
ส่วนใหญ่จะมีในห้องสมุดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเลือกแนะนำแนวทางในการค้นคว้าและทำรายงาน
      4.  บริการแนะนำช่วยการวิจัย (Research Assistant and  Consulting)
Bibliography Instruction(BI) , Subject Guide , Research Guide , Pathfider , Web Portal
หน้าที่ในการช่วยในการค้นคว้าวิจัย
1.               Ready Reference
2.               Topic Subject
3.               Course Guide
     5.  บริการอื่นๆ
          กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน วิธีการที่ทำให้ผู้ใช้บริการ เกิดความสนใจและอยากเข้ามาใช้บริการ
เทคโนโลยีในห้องสมุด WEB2.0 / LIB 2.0

บทบาทของห้องสมุดต้องให้สิ่งที่เป็นมากกว่าความเป็น ห้องสมุด
        ห้องสมุดเข้าสู่โลกของ2.0ได้อย่างไรบ้าง?
       การที่จะเข้าสู่โลกของ 2.0 ได้ คงต้องเริ่มจากการเป็นผู้เล่นก่อน มีห้องสมุดจำนวนมาก ที่ได้ริเริ่ม และลองเล่นเครื่องมือการสร้างเครือข่ายทางสังคมต่างๆ (Social Networking Tools) ที่มีให้บริการอยู่มากมาย แล้วนำมาประยุกต์ใช้ อาทิเช่นBlog บทความออนไลน์ที่ใครๆ ก็เขียนได้ เขียนเรื่องอะไรก็ได้ หลายหน่วยงานใช้เพื่อประกาศข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ให้ผู้สนใจได้ติดตามWiki – ต้นแบบของการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้เขียนบทความ สารานุกรมในเรื่องที่น่ารู้ต่างๆ ในแบบช่วยกันเขียนช่วยกันแก้ไขอภิปรายร่วมกันจนได้ข้อสรุปสุดท้ายเป็นองค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือFolksonomy – เรียกอีกอย่างว่า Tag เป็นคำหรือข้อความที่บอกถึงหมวดหมู่ กลุ่มเนื้อหาของสิ่งต่างๆ ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งบางคนอาจจะประยุกต์ใช้โดยแทนที่จะบอกว่าสิ่งนั้นเกี่ยวกับอะไร แต่ให้ข้อมูลการนำไปใช้แทนก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใดRSS รูปแบบการรับส่งข้อมูลข่าวสารที่สะดวก รวดเร็ว ทำให้เราสามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บต่างๆ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เพียงแค่บอกรับ (Subscribe) เว็บที่เราสนใจ หากมีการ Update ใดๆ ข้อมูลเหล่านี้จะเข้ามาหาเราเองโดยที่เราไม่ต้องเข้าไปเว็บนั้นให้เสียเวลาPodcast และ Videocast การเผยแพร่ไฟล์เสียงและไฟล์วิดีโอต่างๆ ที่น่าสนใจ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระจายข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน ซึ่งผู้ใช้สามารถบอกรับการ Update ได้เช่นเดียวกับระบบของ RSS
Social Bookmarking แบ่งปันลิงค์ (Link) URL เว็บไซต์ที่น่าสนใจร่วมกัน สร้างให้เกิดแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เพราะอย่างน้อย URL เหล่านั้นก็เคยมีคนเก็บไว้เพื่อเรียกใช้งาน ห้องสมุดบางแห่งใช้ del.icio.us เพื่อการสร้าง Subject Guideหรือชี้แหล่งข้อมูลในหัวเรื่องต่างๆที่น่าสนใจหรือใช้เพื่อการตอบคำถามได้อีกด้วยSocial Networking เครือข่ายทางสังคม ของคนที่สนใจอะไรเหมือนๆ กัน มีตัวอย่างให้เห็นมากมายในปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ ใช้คนที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ ให้เป็นประโยชน์ให้ข้อมูลเฉพาะด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดีNext Generation OPAC การสืบค้นหนังสือหรือข้อมูลยุคใหม่ ที่ต้องสะดวก รวดเร็ว พาผู้ใช้ไปยังข้อมูลที่เขาสนใจได้อย่างง่ายดาย มีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ มีเครื่องมือในการช่วยเหลือให้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ในรายการต่างๆ ได้
ที่มาของแนวคิดห้องสมุด 2.0
- พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยนไป มีการพัฒนาการใช้ IT มากขึ้น
- กฎของพาเรโต
- เศรษฐศาสตร์แถวหางยาว
- เทคโนโลยี WEB 2.0
- เทคโนโลยี LIB 2.0

กฎของพาเรโต (Pareto Principle) “80/20 rule”
- กฎ 80/20 ได้รับความนิยมใช้มาเรื่อยๆ จนถึงยุคที่มีอินเตอร์เน็ต
- อินเตอร์เน็ตทำให้ต้นทุนในการประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร และไม่ได้แปรผันตามปริมาณการใช้อีกต่อไป การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอีก 80% ได้ง่ายขึ้น
- อินเตอร์เน็ตจึงเป็นจุดกำเนิดของกลยุทธ์หางยาว (Long Tail Strategy) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เน้นเจาะกลุ่มลูกค้า (demand side) หรือสินค้า (supply side) อีก 80% ที่เป็นลูกค้าระดับรอง หรือสินค้าที่ขายยาก
Niche Marketตลาดกลุ่มเฉพาะ
Niche Marketing คือ กระบวนการในการหาส่วนของตลาดที่สามารถทำกำไร
ได้ โดยการตอบสนองในสินค้าและบริการที่เป็นความต้องการเฉพาะตัว นักการตลาด
ทางด้านนี้มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องของรูปแบบธุรกิจที่มีความจงรักภักดี เพื่อรักษายอดขาย
ที่ทำกำไรได้ไว้อย่างยั่งยืน
ประโยชน์ของ Niche Market
1. ธุรกิจประเภทนี้สามารถทำได้ถึงแม้จะมีทรัพยากรและทุนจำกัด การทำ Niche
Market จะช่วยประหยัดแรงงาน แรงเงิน และแรงใจ เนื่องจาก สามารถทุ่มเททั้งเวลาใน
การศึกษาพฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย คิดวางแผนในการทำตลาด รวมไปถึง
สามารถจัดสรรงบประมาณในการทำตลาดได้อย่างเต็มที่
2. ในขณะเดียวกัน ความเป็น Niche Market มักจะทำให้มีคู่แข่งในตลาดน้อย หรือ
อาจไม่มีเลยเพราะขนาดตลาดเล็กเกินไป ไม่ดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่ๆ ให้เข้ามา การทำตลาด
แบบ Niche Market เกิดขึ้นได้เพราะยังมีความต้องการของลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับการ
ตอบสนอง ถ้าสามารถค้นพบตลาดนี้ และตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ก็จะสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำ
ตลาดได้
กฎ 3 ประการของ ทฤษฎี Long Tail
1.               Make everything available
2.               Cut the price in half now lower it
3.               Help me find it