งานการบริการห้องสมุด

สรุปความรู้ จากวิชา บริการสารสนเทศ (รหัสวิชา 203707)

วัน เสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2554

หากกล่าวถึง หน้าที่ของบรรณารักษ์ คือ ให้บริการสารสนเทศ อย่างมีคุณภาพ การบริการอย่างมีคุณค่า




งานการบริการห้องสมุด

บริการห้องสมุดประกอบด้วย บริการพื้นฐาน เช่น บริการการอ่าน บริการยืม-คืน และบริการสารสนเทศ บริการที่สถาบันบริการสารสนเทศ นิยมจัดบริการ มี ดังนี้

งานห้องสมุด
งานห้องสมุด หมายถึง งานที่ดำเนินงานในการบริหาร และจัดการการดำเนินงานห้องสมุด ประกอบด้วย 3 ประเภทหลักๆ คือ

    1) งานบริหาร (Administration Function) เป็นส่วนงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และควบคุมดูและการทำงานของห้องสมุด ให้สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานนั้นๆ รวมทั้งการกำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสมกับห้องสมุด เพื่อให้งานของห้องสมุดบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ได้แก่งานจัดดำเนินงานห้องสมุดเกี่ยวกับ อาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ บุคลากร การเงินและวัสดุอุปกรณ์ งานธุรการ การกำหนดนโยบาย การจัดทำแผนปฏิบัติงาน การจัดทำโครงการต่างๆ การประเมินผลงาน และการประชาสัมพันธ์ เป็นต้นหน่วยบริหารและธุรการ รับผิดชอบด้านงานสารบรรณ งานการเงินและพัสดุ งานบริหารบุคคล งานอาคารสถานที่ งานนโยบายและแผน งานส่งเสริมและ เผยแพร่งานห้องสมุด


     2) งานเทคนิค (Technical Function) เป็นงานที่ดำเนินการอยู่เบื้องหลังการนำมาให้บริการห้องสมุด เรียกว่าเป็นงานเตรียมการของห้องสมุด ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานเหล่านี้มักจะไม่มีการพบปะกับผู้ใช้อาจ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ด้านบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 หน่วยงานหลักๆ คือ หน่วยพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทหลักของห้องสมุดในการให้บริการสารสนเทศที่มีการบันทึก และ หน่วยงานวิเคราะห์สารสนเทศ ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดระเบียบสารสนเทศเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ขอบเขตของงานเทคนิคห้องสมุดจึงครอบคลุมงานดังต่อไปนี้ งานจัดหาและพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อใช้และบริการผู้ใช้ งานให้บริการสารสนเทศ และ ทรัพยากรสารสนเทศ งานซ่อมบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ

2.1) ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุดส่วนงานนี้มีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรห้องสมุด ซึ่งได้แก่หนังสือ วารสาร รวมทั้งทรัพยากรห้องสมุดอื่นๆ ที่ให้บริการดังนั้นบางแห่งอาจจะใช้ชื่ออื่น เช่น ฝ่ายจัดหาทรัพยากรห้องสมุด

2.2) ฝ่ายวารสารเป็นงานที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงกับฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด แต่งานฝ่ายวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมีลักษณะงานที่ทำสม่ำเสมอ

     3) งานบริการ (Service Function) บรรณารักษ์(Librarian) ผู้ช่วยบรรณารักษ์ (Paralibrarian) เจ้าหน้าที่ (Clerical staff) และ เจ้าหน้าที่ขึ้นชั้น (Shelvers) พบปะกับผู้ใช้โดยตรง ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ประกอบด้วยงานบริการพื้นฐาน และบริการพิเศษอื่นๆ และรวมถึงงานกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ ปาฐกถา เสวนา อภิปราย โต้วาที เป็นต้นงานบริการห้องสมุดถือว่าเป็นภารกิจหลักของสถาบันบริการสารสนเทศทำให้สถาบันบริการสารสนเทศเติบโต ผู้ให้บริการจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างสารสนเทศกับผู้ใช้บริการให้มีความสัมพันธ์กัน โดยให้บริการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้นการบริการจึงเป็นการกระทำเพื่อผู้อื่นเป็นหลัก

ประเภทของงานบริการห้องสมุด

1. งานบริการพื้นฐาน
                   1.1) บริการผู้อ่าน (Reader Services) เป็นการจัดอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้เกี่ยวกับการจัดการสถานที่แสงสว่าง ห้องอ่าน หรือ ห้องบริการเฉพาะ การจัดเตรียม โต๊ะ เก้าอี้ วัสดุอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย

                    1.2) บริการยืม-คืน (Circulation Services) หรือ บริการจ่าย- รับ เป็นบริการที่เปิดให้ผู้ใช้ยืมทรัพยากร สิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ โดยมีข้อยกเว้นสำหรับทรัพยากรสารสนเทศบางประเภท เช่น หนังสืออ้างอิง วารสารฉบับล่าสุด วารสารเย็บเล่ม บริการให้ยืม- คืน และให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการยืม ได้แก่ การสมัครบัตรสมาชิก
                            1) บริการตรวจสอบและบริการจอง (Inventory and Hold Services)
                            2) บริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)

2. บริการอ้างอิงและสารสนเทศ(Reference and Information Services) บริการสารสนเทศ มีชื่อเรียกที่หลากหลาย อาจมีชื่อเรียกว่า บริการอ้างอิง (Reference Service) บริการอ้างอิงและสารสนเทศ ประกอปไปด้ววยบริการดังต่อไปนี้ (Bopp & Smith, 2001, pp.7-14; Chowdhury, 2005, p.258)
              

                  2.1 บริการตอบคำถาม (Inquiries Service)
                           2.2 บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service - ILL)
                           2.3 บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service – DD)
                           2.4 บริการข่าวสารทันสมัย(Current Awareness Service - CAS)
                           2.5 บริการจัดทำดรรชนีและสารสังเขป (Indexing and Abtracting Services)
                           2.6 บริการวบรวมบรรณานุกรม (Bibliography Service)
                           2.7 บริการการแปล(Translation Service)
                           2.8 บริการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์(Online Information Retrieval Service)

3. บริการสอนการใช้บริการสอนการใช้ (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)

นอกจากนี้ยังมีการ ยก ตัวอย่าง หอสมุดแห่งชาติ ประจำประเทศต่างๆ ที่สวยงามและ มีเชื่อเสียงเป็นอย่างมาก เช่น
-Building Architecture of UCSD GIESEL Library San Diego
-Tatastan National Library
-Vatican Library
-Kansas City Public Library