วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการสารสนเทศ (Information Services)

การบริการ (Service)

  
(ที่มา : www.tnnthailand.com)   (ที่มา : http://203.172.141.228/adviceenfe/topic2_old.php)

ความหมายของการบริการ (Meaning of service)

 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546)
ได้กล่าวว่า ปฏิบัติรับใช้หรือให้ความสะดวกต่างๆ เช่น ร้านนี้บริการลูกค้าดี หรือใช้เป็นนาม หมายถึง ให้บริการ ใช้บริการ

สรุปจากบทเรียน เมื่อ 12 มิถุนายน 2554 
วิชา บริการสารสนเทศ (203707)

การบริการ คือ การให้ความช่วยเหลือ ปฏิบัติรับใช้หรือการอำนวยความสะดวก เพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ การให้บริการที่ดี ผู้ที่มาใช้บริการจะเกิดความประทับใจและได้เกิดการนำการบริการที่ดีขององค์กรไปเผยแพร่ จึงถือว่า เป็นการบริการที่ดี สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ทำให้องค์กรเกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการอย่างมีมาตรฐาน เพราะฉะนั้น การบริการและการบริการห้องสมุดจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เราจะมองข้ามไม่ได้

ประเภทธุรกิจการบริการ
 

พิจารณาในแง่ของลักษณะและผลประโยชน์ การให้บริการ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. การบริการเชิงธุรกิจ (Business service) เป็นการบริการที่มุ่งแสวงหากำไรจากการให้บริการนั้นๆ โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ลงทุนในการผลิตสินค้าบริการ และคาดหวังผลกำไรตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งมักอยู่ในภาคเอกชน เช่น การให้บริการของโรงแรม ร้านอาหาร การท่องเที่ยว การขนส่ง การแพทย์และพยาบาล เป็นต้น

2. การบริการสาธารณะ (Public service) เป็นการบริการโดยหน่วยงานหรือองค์กรในระบบราชการเพื่อมุ่งรักษาผลประโยชน์ และสวัสดิภาพของประชาชน เช่น การบริการขนส่งมวลชน การบริการด้านสุขภาพ บริการห้องสมุด เป็นต้น
(พิมล เมฆสวัสดิ์, 2550, น. 910)

งานบริการห้องสมุด

งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ โดยเฉพาะห้องสมุด หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการ สารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ งานบริการ คือ หัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ” 
(ภาวิณี แสนชนม์, ม.ป.ป)

 
                  (ที่มา : www.dekmor.cmu.ac.th)


ความสำคัญของการบริการห้องสมุด

1.  เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด
2.  ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา
3.  ในด้านเศรษฐกิจ
4.  ในทางวัฒนธรรม
5.  การเมืองและการปกครอง


ประเภทงานบริการห้อง


1. บริการพื้นฐาน เป็นการบริการขั้นบังคับของห้องสมุด เมื่อได้ทำการบริการห้องสมุดแล้วต้องมี จะประกอบไปด้วย

การบริการผู้อ่าน เป็นการอำนวยความสะดวกในการเข้าไปใช้บริการห้องสมุด ให้ผู้ใช้บริการเกิดความสะดวกสบายขึ้น เช่น มีโต๊ะและเก้าอี้ไว้อ่านหนังสือหรือค้นหาข้อมูลต่างๆ หนังสือหรือสารสนเทศที่เตรียมพร้อมในการให้บริการอยู่เสมอ รวมไปถึงมีเครื่องปรับอากาศเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เป็นต้น

การบริการยืม-คืน เป็นการบริการ ที่จะนำสารสนเทศต่างๆ ออกจากห้องสมุด เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้สารสนเทศตามที่ตนเองต้องการ โดยมีการบันทึกและการติดตามสารสนเทศที่นำออกมาไปได้


2. บริการอ้างอิงสารสนเทศ เป็นงานที่มาคอยสนับสนุนผู้ใช้งาน ในการหาสารสนเทศที่ตนเองต้องการ สามารถแบ่งลักษณะของบริการด้านนี้ ดังต่อไปนี้

บริการสารสนเทศ จะเป็นงานบริการลักษณะที่เป็นพื้นฐานของห้องสมุด เช่น บริการการยืมคืนระหว่างห้องสมุด การจัดระเบียบสารสนเทศต่างๆ การสำเนา รวมไปถึง การให้นำแนะนำ ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ

บริการสอนการใช้ สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ การบริการสอน การแนะนำการใช้งานและค้นคว้าสารสนเทศในห้องสมุดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม รวมไปถึงการนำชมห้องสมุดก็ถือว่าเป็น บริการสอนการใช้ด้วย

บริการแนะนำ บริการแนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่างคือ จะเน้นในการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน แนะนำการทำรายงาน หรืองานวิจัยต่างๆที่สารสนเทศเข้ามาผลต่อกการนำงานด้วย ห้องสมุดต้องบริการด้านนี้ด้วย รวมไปถึงพัฒนาความคิด และอารมณ์ให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ และเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีพ

3. บริการเฉพาะ เป็นการบริการสารสนเทศในห้องสมุดให้กับกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มที่อาจติดปัญหาในการสืบค้นสารสนเทศต่างๆ ห้องสมุดต้องมีการบริการด้านนี้ไว้ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับคนกลุ่มนี้ และคนกลุ่มเฉพาะทางเหล่านี้ก็มีความต้องการที่ต่างกัน ห้องสมุดจะต้องพัฒนาการบริการเหล่านี้ให้ตอบสนองคนเหล่าได้เป็นอย่างดี กลุ่มเฉพาะเหล่าก็ เช่น กลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มเด็ก กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น



(ที่มา : www.thaigoodview.com)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น