วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการ ยืม- คืน หรือ จ่าย- รับ (Circulation Service)

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา บริการสารสนเทศ รหัสวิชา 203707
เมื่อ วันเสาร์ ที่ 25 มิถุนายน 2554




 
    (ที่มา : http://www.gotoknow.org/blog/knowplus/214147)              (ที่มา : http://lib07.kku.ac.th/asklib/)


บริการ ยืม- คืน หรือ จ่าย- รับ (Circulation Service)

เป้าหมายหลัก
-          เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงงานบริการสารสนเทศ
-          นำไปศึกษาค้นคว้านอกสถาบันได้

ปรัชญาของงานบริการ ยืม  คืน
-        ให้ความเท่าเทียม และเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในหอสมุด  (Guarantee equaland fair to the library collection)
-          กำหนดนโยบายและระเบียบโดยมีวัตถุประสงค์ ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด (Therefore, librarians determine circulation policies and routines with the goal of providing maximum access to the materials )

บทบาทหน้าที่ของบริการ ยืม- คืน
1.        ควบคุมการยืม  คืน  เป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดสมัยใหม่ สืบเนื่องมาจากภารกิจของห้องสมุดรวมทั้งเป้าหมายขององค์กร สิทธิความเท่าเทียม และตอบสนองความต้องการสารสนเทศได้ (Librarians access: We provide timely, convenience, equal access to materials   )
2.        การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด คือ จุดแรกที่มองเห็น การมาติดต่ออย่างมากในห้องสมุด ความประทับใจ การให้ความช่วยเหลือ และการบริการที่ได้รับจึงมีผลกระทบต่อผู้มาใช้บริการ  ซึ่งบริการนี้อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการห้องสมุด (Its role in influencing the user opinion regarding the quality of the library service)

การประชาสัมพันธ์ 
1.      จุดที่มีการบริการทั้งหมด ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ (Almost every transaction a library is an act of customer  relations)
2.       ผู้ใช้คาดหวังกับเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในทุกๆเรื่อง (Patrons expect library  staff to knew everything)

สาเหตุที่ผู้มารับบริการไม่พึงพอใจ
1.       หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ
2.       ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดการส่ง
3.       ระยะเวลาในการยืมสั้น
4.        จำกัดครั้งในการยืม
5.        ค่าปรับ
6.        เสียงรบกวน
7.        ไม่พอใจการบริการของบรรณารักษ์
8.        ร้อน หรือ เย็นเกินไป
9.        กลิ่นไม่พึงประสงค์
10.     อุปการณในสำนักงานไม่ทำงาน หรือ ชำรุด

การจัดการ
1.      ห้องสมุดขนาดเล็ก บรรณารักษ์ ทำหน้าที่ดูแลงาน เจ้าหน้าที่ กำหนดนโยบาย ขั้นตอนการดำเนินงาน  ระเบียบ และแนะนำดุแลการทำงานของเจ้าหน้าที่
2.       ห้องสมุดขนาดใหญ่ มีหัวหน้าแผนก ดูแลบรรณารักษ์ โดยบรรณารักษ์ ดูแลงานด้านการจัดการ
3.       ห้องสมุดขนาดใหญ่มาก จะมีหัวหน้างาน ดูแลภายใต้การควบคุมของ รองผู้จัดการบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่ดูแลหอสมุด

ค่าปรับ
1.       เพื่อกระจายการเข้าถึงให้ผู้อื่น
2.        การมีความรับผิดชอบ
3.        มีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งคืนตามเวลาที่กำหนด

การจัดการปัญหาในการปรับ
1.        มีการยกเว้น
2.        มีการผ่อนผัน
3.        หากไม่มีการส่งคืนและจ่ายค่าปรับ สิทธิในการใช้ห้องสมุดจะถูกระงับ
4.        ห้องสมุดจะขอระงับการออก transcript หรือ ระงับการสำเร็จการศึกษา

การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้
1.       เพื่อจำแนกว่าใครบ้างที่มีสิทธิยืมทรัพยากร หรือมีสิทธิใช้บริการของสถาบัน บริการสารสนเทศ
2.        ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร แจ้งการจอง
3.        สถาบันสารสนเทศจำเป็นต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย และลักษณะ ของกลุ่มเป้าหมาย และบริการ

เทคโนโลยี บาร์โค๊ด (Bar code)
1.       บริการ ยืม  คืน
2.       งานทะเบียนผู้ใช้ (บัตรสมาชิก)
3.        เลขเรียกหนังสือ
4.        เลขทะเบียน
5.        ชื่อหนังสือติดอยู่บนหนังสือ


วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งานการบริการห้องสมุด


สรุปความรู้ จากวิชา บริการสารสนเทศ (รหัสวิชา 203707)

วัน เสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2554

หากกล่าวถึง หน้าที่ของบรรณารักษ์ คือ ให้บริการสารสนเทศ อย่างมีคุณภาพ การบริการอย่างมีคุณค่า


งานการบริการห้องสมุด

บริการห้องสมุดประกอบด้วย บริการพื้นฐาน เช่น บริการการอ่าน บริการยืม-คืน และบริการสารสนเทศ บริการที่สถาบันบริการสารสนเทศ นิยมจัดบริการ มี ดังนี้

งานห้องสมุด
งานห้องสมุด หมายถึง งานที่ดำเนินงานในการบริหาร และจัดการการดำเนินงานห้องสมุด ประกอบด้วย 3 ประเภทหลักๆ คือ

    1) งานบริหาร (Administration Function) เป็นส่วนงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และควบคุมดูและการทำงานของห้องสมุด ให้สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานนั้นๆ รวมทั้งการกำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสมกับห้องสมุด เพื่อให้งานของห้องสมุดบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ได้แก่งานจัดดำเนินงานห้องสมุดเกี่ยวกับ อาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ บุคลากร การเงินและวัสดุอุปกรณ์ งานธุรการ การกำหนดนโยบาย การจัดทำแผนปฏิบัติงาน การจัดทำโครงการต่างๆ การประเมินผลงาน และการประชาสัมพันธ์ เป็นต้นหน่วยบริหารและธุรการ รับผิดชอบด้านงานสารบรรณ งานการเงินและพัสดุ งานบริหารบุคคล งานอาคารสถานที่ งานนโยบายและแผน งานส่งเสริมและ เผยแพร่งานห้องสมุด

     2) งานเทคนิค (Technical Function) เป็นงานที่ดำเนินการอยู่เบื้องหลังการนำมาให้บริการห้องสมุด เรียกว่าเป็นงานเตรียมการของห้องสมุด ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานเหล่านี้มักจะไม่มีการพบปะกับผู้ใช้อาจ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ด้านบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 หน่วยงานหลักๆ คือ หน่วยพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทหลักของห้องสมุดในการให้บริการสารสนเทศที่มีการบันทึก และ หน่วยงานวิเคราะห์สารสนเทศ ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดระเบียบสารสนเทศเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ขอบเขตของงานเทคนิคห้องสมุดจึงครอบคลุมงานดังต่อไปนี้ งานจัดหาและพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อใช้และบริการผู้ใช้ งานให้บริการสารสนเทศ และ ทรัพยากรสารสนเทศ งานซ่อมบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ

2.1) ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุดส่วนงานนี้มีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรห้องสมุด ซึ่งได้แก่หนังสือ วารสาร รวมทั้งทรัพยากรห้องสมุดอื่นๆ ที่ให้บริการดังนั้นบางแห่งอาจจะใช้ชื่ออื่น เช่น ฝ่ายจัดหาทรัพยากรห้องสมุด

2.2) ฝ่ายวารสารเป็นงานที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงกับฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด แต่งานฝ่ายวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมีลักษณะงานที่ทำสม่ำเสมอ

     3) งานบริการ (Service Function) บรรณารักษ์(Librarian) ผู้ช่วยบรรณารักษ์ (Paralibrarian) เจ้าหน้าที่ (Clerical staff) และ เจ้าหน้าที่ขึ้นชั้น (Shelvers) พบปะกับผู้ใช้โดยตรง ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ประกอบด้วยงานบริการพื้นฐาน และบริการพิเศษอื่นๆ และรวมถึงงานกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ ปาฐกถา เสวนา อภิปราย โต้วาที เป็นต้นงานบริการห้องสมุดถือว่าเป็นภารกิจหลักของสถาบันบริการสารสนเทศทำให้สถาบันบริการสารสนเทศเติบโต ผู้ให้บริการจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างสารสนเทศกับผู้ใช้บริการให้มีความสัมพันธ์กัน โดยให้บริการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้นการบริการจึงเป็นการกระทำเพื่อผู้อื่นเป็นหลัก

ประเภทของงานบริการห้องสมุด

1. งานบริการพื้นฐาน
                   1.1) บริการผู้อ่าน (Reader Services) เป็นการจัดอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้เกี่ยวกับการจัดการสถานที่แสงสว่าง ห้องอ่าน หรือ ห้องบริการเฉพาะ การจัดเตรียม โต๊ะ เก้าอี้ วัสดุอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย

                    1.2) บริการยืม-คืน (Circulation Services) หรือ บริการจ่าย- รับ เป็นบริการที่เปิดให้ผู้ใช้ยืมทรัพยากร สิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ โดยมีข้อยกเว้นสำหรับทรัพยากรสารสนเทศบางประเภท เช่น หนังสืออ้างอิง วารสารฉบับล่าสุด วารสารเย็บเล่ม บริการให้ยืม- คืน และให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการยืม ได้แก่ การสมัครบัตรสมาชิก
                            1) บริการตรวจสอบและบริการจอง (Inventory and Hold Services)
                            2) บริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)

               2. บริการอ้างอิงและสารสนเทศ(Reference and Information Services) บริการสารสนเทศ มีชื่อเรียกที่หลากหลาย อาจมีชื่อเรียกว่า บริการอ้างอิง (Reference Service) บริการอ้างอิงและสารสนเทศ ประกอปไปด้ววยบริการดังต่อไปนี้ (Bopp & Smith, 2001, pp.7-14; Chowdhury, 2005, p.258)

                  2.1 บริการตอบคำถาม (Inquiries Service)
                           2.2 บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service - ILL)
                           2.3 บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service – DD)
                           2.4 บริการข่าวสารทันสมัย(Current Awareness Service - CAS)
                           2.5 บริการจัดทำดรรชนีและสารสังเขป (Indexing and Abtracting Services)
                           2.6 บริการวบรวมบรรณานุกรม (Bibliography Service)
                           2.7 บริการการแปล(Translation Service)
                           2.8 บริการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์(Online Information Retrieval Service)
               3. บริการสอนการใช้บริการสอนการใช้ (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)

นอกจากนี้ยังมีการ ยก ตัวอย่าง หอสมุดแห่งชาติ ประจำประเทศต่างๆ ที่สวยงามและ มีเชื่อเสียงเป็นอย่างมาก เช่น
-Building Architecture of UCSD GIESEL Library San Diego
-Tatastan National Library
-Vatican Library
-Kansas City Public Library

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการสารสนเทศ (Information Services)

การบริการ (Service)

  
(ที่มา : www.tnnthailand.com)   (ที่มา : http://203.172.141.228/adviceenfe/topic2_old.php)

ความหมายของการบริการ (Meaning of service)

 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546)
ได้กล่าวว่า ปฏิบัติรับใช้หรือให้ความสะดวกต่างๆ เช่น ร้านนี้บริการลูกค้าดี หรือใช้เป็นนาม หมายถึง ให้บริการ ใช้บริการ

สรุปจากบทเรียน เมื่อ 12 มิถุนายน 2554 
วิชา บริการสารสนเทศ (203707)

การบริการ คือ การให้ความช่วยเหลือ ปฏิบัติรับใช้หรือการอำนวยความสะดวก เพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ การให้บริการที่ดี ผู้ที่มาใช้บริการจะเกิดความประทับใจและได้เกิดการนำการบริการที่ดีขององค์กรไปเผยแพร่ จึงถือว่า เป็นการบริการที่ดี สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ทำให้องค์กรเกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการอย่างมีมาตรฐาน เพราะฉะนั้น การบริการและการบริการห้องสมุดจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เราจะมองข้ามไม่ได้

ประเภทธุรกิจการบริการ
 

พิจารณาในแง่ของลักษณะและผลประโยชน์ การให้บริการ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. การบริการเชิงธุรกิจ (Business service) เป็นการบริการที่มุ่งแสวงหากำไรจากการให้บริการนั้นๆ โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ลงทุนในการผลิตสินค้าบริการ และคาดหวังผลกำไรตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งมักอยู่ในภาคเอกชน เช่น การให้บริการของโรงแรม ร้านอาหาร การท่องเที่ยว การขนส่ง การแพทย์และพยาบาล เป็นต้น

2. การบริการสาธารณะ (Public service) เป็นการบริการโดยหน่วยงานหรือองค์กรในระบบราชการเพื่อมุ่งรักษาผลประโยชน์ และสวัสดิภาพของประชาชน เช่น การบริการขนส่งมวลชน การบริการด้านสุขภาพ บริการห้องสมุด เป็นต้น
(พิมล เมฆสวัสดิ์, 2550, น. 910)

งานบริการห้องสมุด

งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ โดยเฉพาะห้องสมุด หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการ สารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ งานบริการ คือ หัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ” 
(ภาวิณี แสนชนม์, ม.ป.ป)

 
                  (ที่มา : www.dekmor.cmu.ac.th)


ความสำคัญของการบริการห้องสมุด

1.  เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด
2.  ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา
3.  ในด้านเศรษฐกิจ
4.  ในทางวัฒนธรรม
5.  การเมืองและการปกครอง


ประเภทงานบริการห้อง


1. บริการพื้นฐาน เป็นการบริการขั้นบังคับของห้องสมุด เมื่อได้ทำการบริการห้องสมุดแล้วต้องมี จะประกอบไปด้วย

การบริการผู้อ่าน เป็นการอำนวยความสะดวกในการเข้าไปใช้บริการห้องสมุด ให้ผู้ใช้บริการเกิดความสะดวกสบายขึ้น เช่น มีโต๊ะและเก้าอี้ไว้อ่านหนังสือหรือค้นหาข้อมูลต่างๆ หนังสือหรือสารสนเทศที่เตรียมพร้อมในการให้บริการอยู่เสมอ รวมไปถึงมีเครื่องปรับอากาศเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เป็นต้น

การบริการยืม-คืน เป็นการบริการ ที่จะนำสารสนเทศต่างๆ ออกจากห้องสมุด เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้สารสนเทศตามที่ตนเองต้องการ โดยมีการบันทึกและการติดตามสารสนเทศที่นำออกมาไปได้


2. บริการอ้างอิงสารสนเทศ เป็นงานที่มาคอยสนับสนุนผู้ใช้งาน ในการหาสารสนเทศที่ตนเองต้องการ สามารถแบ่งลักษณะของบริการด้านนี้ ดังต่อไปนี้

บริการสารสนเทศ จะเป็นงานบริการลักษณะที่เป็นพื้นฐานของห้องสมุด เช่น บริการการยืมคืนระหว่างห้องสมุด การจัดระเบียบสารสนเทศต่างๆ การสำเนา รวมไปถึง การให้นำแนะนำ ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ

บริการสอนการใช้ สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ การบริการสอน การแนะนำการใช้งานและค้นคว้าสารสนเทศในห้องสมุดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม รวมไปถึงการนำชมห้องสมุดก็ถือว่าเป็น บริการสอนการใช้ด้วย

บริการแนะนำ บริการแนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่างคือ จะเน้นในการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน แนะนำการทำรายงาน หรืองานวิจัยต่างๆที่สารสนเทศเข้ามาผลต่อกการนำงานด้วย ห้องสมุดต้องบริการด้านนี้ด้วย รวมไปถึงพัฒนาความคิด และอารมณ์ให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ และเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีพ

3. บริการเฉพาะ เป็นการบริการสารสนเทศในห้องสมุดให้กับกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มที่อาจติดปัญหาในการสืบค้นสารสนเทศต่างๆ ห้องสมุดต้องมีการบริการด้านนี้ไว้ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับคนกลุ่มนี้ และคนกลุ่มเฉพาะทางเหล่านี้ก็มีความต้องการที่ต่างกัน ห้องสมุดจะต้องพัฒนาการบริการเหล่านี้ให้ตอบสนองคนเหล่าได้เป็นอย่างดี กลุ่มเฉพาะเหล่าก็ เช่น กลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มเด็ก กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น



(ที่มา : www.thaigoodview.com)