วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

งานสัมมนา วิชาการเรื่อง การบริการสารสนเทศ

สรุปงานสัมมนาวิชาการเรื่อง การบริการสารสนเทศ วันที่ 23-24 ก.ค. 2554

โดย อ.บุญเลิศ  อรุณพิบูลย์ ตำแหน่งหัวหน้างานพัฒนา และบริการสื่อสาระดิจิทัล

สำนักวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)

  1.  New services (บริการรูปแบบใหม่)

1.1    Cloud  computing : เช่น Face book, G-mail.

 ลักษณะ คือ รวมตัวเป็นกลุ่มก้อน  ไม่ได้เก็บข้อมูล  ไม่ได้มีการบันทึกในคอมพิวเตอร์ของเรา  ไม่ต้องรู้ ที่ตั้ง ไม่ทราบว่า Server ตั้งอยู่ที่ใด 

Black April คือ เหตุการณ์ที่ระบบเทคโนโลยี ต่างล่มโดยมิได้นัดหมายใน วันที่ 21 เดือนเมษายน 2011ที่ขอเรียกได้ว่าเป็น “Black April” เดือนที่เกิดความโกลาหลในอุตสาหกรรมไอซีที ไปพอสมควร ไม่เพียงแต่ในต่างประเทศ บ้านเราระบบไทยคมก็ทำเอาหน้าจอมืดไปร่วมสามชั่วโมง ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon ส่งผลให้องค์กรนี้มีระบบไอทีที่เข้มแข็งมาก ขนาดที่เข้ามายืนอยู่แถวหน้าได้ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด โดยเฉพาะบริการคลาวด์ (Cloud service) ที่ได้รับการกล่าวขานถึง เป็นกรณีศึกษาของธุรกิจ Cloud computingมาหลายครั้งหลายหน แต่ในที่สุดก็ไม่พ้นกับปัญหาการให้บริการจนได้

            1.2. OCLC : The world ‘s librarians connected  คือ เชื่อมโยงห้องสมุดต่างๆในโลก Could Opac.

            OCLC เป็น Bibliographic Utilities ที่มีบานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดและเครือข่ายที่ใหญที่สุดในโลก กล่าวคือ ในปี ค.ศ. 1999 OCLC มีจำนวนระเบียนประมาณ 40 ล้านระเบียน ให้บริการแก่ห้องสมุดที่เป็นสมาชิก มีการเพิ่มระเบียนใหม่ในฐานข้อมูลทุกๆ 15 วินาที ซึ่งปัจจุบันให้บริการในห้องสมุด 53,546 แห่ง ใน 96 ทั่วโลก






           แยกตามกลุ่มผู้ใช้

Could ระดับองค์กร...........could library

Couldระดับบุคคล G-mail / บริการ

Could ระดับผสม (install big file)

            แยกตามกลุ่มบริการ

public Could  เช่น Face book, G-mail.

Private Could ข้อมูลส่วนตัว เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Hybrid Could

            แยกตามประเภทเทคโนโลยี

SAAS Phone : Java, Dalian.

Tablet : Android.

E-Reader : IOS, I pad.

Net book : Windows.






ที่มา : http://www.buzzparas.com/2011/03/cloud-computing-ppt-slides-1292

        2. Mobile Device
ห้องสมุดจะให้บริการด้านอะไรบ้างผ่านทางโมบาย มีการนำนวัฒกรรมใหม่ๆเข้ามาในการใช้โมบายกับห้องสมุดอย่างมากมาย ก่อนอื่นต้องมีการทำการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ก่อนว่ามีการใช้บริการผ่านโมบายหรือไม่อย่างไร เว็บสถิติประเทศไทย คือตัวช่วยที่ห้องสมุดสามารถไปค้นได้ว่า พฤติกรรมผู้ใช้โมบายมีแนวโน้มเป็นอย่างไร
    รู้จักผู้ใช้และพฤติกรรมจาก Truehits.net



ที่มา : http://www.zenilshroff.com/latest-technologies-stuffs-for-your-ipad-and-iphone


  3.  Digital content & Publishing: E-book, IR, Digital Library.
            รูปแบบของ E-book

      .DOC

      .PDF

      Flip E-book อัลบั้มภาพ อาจโชว์บนเว็บไซต์ ไม่ได้

      Flash Flip E-book- สามารถโชว์บนเว็บไซน์ได้ ด้วย

      E-publishing: ส่วนมากทำเป็นโปสเตอร์

      .PUB – I phone, Galaxy tab.
  4.  CROSSWALK METADATA
         มากกว่า 1 รูปแบบ สามารถสั่งข้ามจากอีกชุด ไปยังอีกชุดได้
              - MARC  สำหรับ บรรณารักษ์
              - MARCML  สำหรับบรรณารักษ์ที่ทำการลงรายการโปรแกรมใหม่ เช่น ยกเลิกรายการ --การ     
              เมือง --พม่า
              - DUBLIN CORE  โปรแกรมที่ใช้สำหรับห้องสมุด
              - ISAD  สำหรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น เช่น หอจดหมายเหตุ
              -  CDWA  สำหรับ พิพิธพันธ์ (museum)
              - RDF  สำหรับการทำเรื่อง knowledge management
              - OWL  สำหรับการทำเรื่อง knowledge management
              - MODS  สำหรับการทำ Digital Library
               - MOTS  สำหรับการทำ Digital Library
               - PDF   สำหรับ เอกสารทั่วไป Metadata
               - DOC  สำหรับ เอกสารทั่วไป Metadata
               - EXIF
               - XMP
               - IPCT
       5.  OPEN TECHNOLOGY

                  - Z39.5
แลกเปลี่ยนบรรณานุกรม หนังสือผ่าน ILS<--->ILS(การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหส่างกัน)


ที่มา : http://abihara.wordpress.com

                       -Z39.88


ที่มา : http://www.flickr.com/photos/catwizard/83344771/

การเพิ่มลำดับเว็บไซต์/จัดลำดับ Webcometric

  ILS <—–> Apps ระหว่างห้องสมุดกับ other application that be new create

    - OAI-PMH มี1ช่องให้สืบค้น แล้วจะได้ผลลัพธ์ทุกอย่างที่ต้องการ เป็นมาตรฐานที่ อินเทรนมากที่สุดในตอนนี้ แล้วจะโชว์ full record ด้วยแนวคิดคือการทำ one search

      ILS or DBs <—–> DBs, Apps
      –> Semantic Web/Web 3.0
            Web 3.0 หัวใจสำคัญคือคำว่า Semantic สามารถป้อนคำค้นเป็นประโยคได้/เว็บเชิงความหมาย เช่น กูเกิ้ลรู้ว่าคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมคือ พืช สวน ไร่นา ทำเว็บไซต์ให้ค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับคำค้น โดยเอามาจาก keyword (link data)
  • Metadata
  • Bibliography
  • OAI – PMH: One search
  • LINKED DATA
  • ILS<--->APPS
  ทำอย่างไรให้มีระบบสืบค้นที่ค้นได้ ทุกฐานข้อมูลข้างต้น? (ใช้ OAI-PMH)

 6.  DATA & INFORMATIONMINING/VISUALIZATION.




        Data & Information Miningระบบฐานข้อมูลต้องไม่จบแค่ผลลัพธ์การค้น แต่มันต้องบอกอะไรมากกว่านั้น เช่นบอกว่า เจอทั้งหมดกี่เล่ม ปีไหนบ้างมีกี่เล่ม จะมีโปรแกรมช่วยนับให้เรา 
        Visualizationมีหนังสือที่เขียนโดยผู้เขียนคนนี้กี่เรื่องๆ แล้วมีเส้นเชื่อมโยงระหว่างคน 2 คนนี้ว่าเคยเขียนหนังสือเล่มเดียวกันด้วย เช่น http://www.boliven.    

       7.  FACE BOOK ค้นหา APPS-------> Connect Touch grap




           แนวโน้มของการพัฒนาห้องสมุดปัจจุบันนอกจากเรื่องเทคโนโลยีที่หลายๆ คนให้ความสำคัญแล้วจริงๆ แล้วยังมีอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ เรื่องของการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยจึงมีนิยามของคำว่า Green Library เกิดขึ้น
  • …Green Building
  • …Green ICT
ที่มา : http://inhabitat.com/mecanoos-tu-delft-library-crowned-with-a-massive-green-roof/
ที่มา : http://thegreenlibraryblog.blogspot.com/2008/10/article-green-library-design-and.html
ที่มา : http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=7023c682d1f4d36043ff05168ddc0a07








วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้ (Instructional Service)

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา บริการสารสนเทศ รหัสวิชา 203707

เมื่อ วันที่ 17 กรกฏาคม 2554



บริการสอนการใช้  (Instructional Service)


บริการสอนการใช้ (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)

สมาคมห้องสมุดอเมริกัน ได้กำหนดไว้ คือ หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภทคือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัด การสารสนเทศ...การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ

ปรัชญาการบริการ

มุ่งเน้นในส่วนของผู้ใช้บริการเป็นหลัก ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศได้ด้วยตนเอง และยังส่งผลในแง่ของการเรียนรู้ตลอดชีวิตอีกด้วย (Lifelong Learning)

Library Literacy

ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องมีทักษะที่ช่วยในการู้สารสนเทศเหล่านี้ คือ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย

Information Literacy

ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้วผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก ได้แก่

1. การรู้ห้องสมุด (Library literacy)

2. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)

3. การรู้เครือข่าย (Network Literacy)

4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy)

5. การรู้สื่อ (Media Literacy)

6. การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy)

7. การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy)

8. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

9. การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic)

ความสำคัญของ IT

สารสนเทศในยุคปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับและอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของสารสนเทศนั้นล้วนแล้วแต่เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ทั้งสารสนเทศที่ถูกบันทึกในรูปแบบของสื่อดิจิตอลและรูปแบบอื่นๆ อีกทั้งในด้านของการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีสารสนเทศเข้าไปเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ทำให้การสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆตามยุคสมัย

Journal Database และ IR

คือเหล่าบรรดา search engine ที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ ซึ่งสารสนเทศทั้งหมดที่มีอยู่ทั่วโลก มีเพียงส่วนน้อยที่เราจะสามารถค้นพบและนำมาใช้ได้จริง และต้องนำมาผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนด้วย จึงจะเรียกได้ว่าเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ดี และที่สำคัญต้องมีแหล่งที่มาอ้างอิงประกอบด้วย เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการจะนำข้อมูลนั้นๆไปศึกษาต่อสามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็วและเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ

Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไป โดยแยกได้จากประเภทของ Search Engine นั้นๆ ที่ข้อมูลถูกนำมารวบรวม ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อมูลผ่านการ Search นั้น จะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป



ประเภท Search Engine

1.  Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในWeb Pageที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ ตัวอักษรแรกของWeb Pageนั้นๆ วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี

2.  Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละWeb Page ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาWeb Page ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง

3.  Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engineประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ต้องตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

พัฒนาการเทคโนโลยี เครื่องมืออ่าน

Kindle เป็น e-reader หรือเครื่องอ่านหนังสือ อย่างแท้จริง โดยอเมซอน ผู้ขายหนังสือรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง ให้ความรู้สึกเหมือนอ่านจากหนังสือ สบายตา ใช้ technology e-ink ขาวดำ ไม่มี back light สามารถอ่านได้ครั้งละนานๆ เฉกเช่นหนังสือ Kindle สามารถเก็บหนังสือเป็นพันๆ เล่ม เช่น Kindle 3 6 เก็บได้ 1500 เล่ม และมีหนังสือฟรีให้ดาวน์โหลดมากมาย สามารถซื้อหนังสือผ่านเครื่อง Kindle ได้โดยใช้เวลาเพียงวินาที หนังสือก็เข้ามาอยู่ในเครื่องได้




การปฏิรูปการศึกษา

การศึกษานับเป็นปัจจัยหลักซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับโลกในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่มุ่งเน้นในด้าน สังคมแห่งการเรียนรู้คนจึงเป็นทรัพยากรหลักที่ได้รับความเอาใจใส่ ให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น สังเกตได้จากการเตรียมความพร้อมด้านพื้นฐานความรู้ สถาบันการศึกษาจะมีการวางพื้นฐานตั้งแต่วัยเยาว์ ระดับชั้นอนุบาล เพื่อให้สามารถต่อยอดองค์ความรู้ไก้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยหลักการสอนนั้นจะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวกการคิด วิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น และที่สำคัญคือการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

ICT กับระบบการศึกษา

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม ที่สามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีที่กล่าวถึงจึงรวมเรียกว่า ICT – Information Computer and Telecommunication จึงมีบทบาทที่สำคัญต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษาสมัยใหม่ คณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีอเมริกัน ได้ทำรายงานพิเศษเสนอต่อประธานาธิบดีในหัวข้อเรื่อง การใช้ไอทีเพื่อเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และก็มีหลายอย่างที่ตรงกับความคิดที่ทางมหาวิทยาลัย และทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการแล้ว

ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะในด้านสารสนเทศ ดังนี้

1.      มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น

2.     มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร

3.      มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาณ

4.      มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศกล่าวคือสามารถในการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ

5.      มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.      มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์ การรู้เทคโนโลยีและการสื่อสาร

ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ

สามารถเรียกได้หลากหลาย เช่น

     การแนะนำห้องสมุด/นำชม (Library Orientation)

     การสอนการเข้าถึงข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic Instruction)

     การให้การศึกษาผู้ใช้ (User Education)

     การฝึกทักษะการเรียนรู้ (information skills training)

ห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศ หรือร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในการบูรณาการการสอนการรู้สารสนเทศในรายวิชาต่าง ๆ

วิธีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ จะอยู่ในส่วนของ  บริการสอนการใช้ (Instruction Services) ซึ่งบริการที่ต้องการให้ผู้ใช้รู้จักวิธีการค้นคว้า คือ แนะนำการใช้ห้องสมุด ทรัพยากรสารสนเทศ 

                การให้บริการนี้อาจคลุมถึง   หลักการสืบค้นฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ  ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์  การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การค้นคว้าได้ด้วยตนเอง

                ส่วนใหญ่จะมีให้บริการในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดประชาชน แต่จะไม่มีบริการในห้องสมุดเฉพาะนอกจากบางแห่งที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษในการจัดบริการ

บริการนี้ถือเป็นหน้าที่หนึ่งของห้องสมุด



วัตถุประสงค์บริการสอนการใช้ห้องสมุด

1.             สามารถทำให้ผู้ใช้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ

2.             สามารถนำความต้องการของสารสนเทศไปสร้างคำถาม คำหลัก และพัฒนากลยุทธ์การสืบค้นได้

3.             ผู้ใช้สามารถเลือก และสามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการได้รวมถึงมีความสามารถในการประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ

4.             ผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศมาพัฒนาองค์ความรู้เดิมและประยุกต์ใช้กับงานในสถานการณ์ต่างๆได้

ลักษณะการจัดบริการ

การจัดบริการแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.             บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)

                                Informal /Point of use Instruction

2.    บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)

                                Formal Instruction            

     Library Tour/Orientation

     Classroom Presentation

 บริการสอน/แนะนำเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)

Informal /Point of use Instruction

                                เป็นการบริการช่วยเหลือผู้ใช้เมื่อผู้ใช้มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ

     ปัญหาในการที่จะได้มาซึ่งข้อสนเทศที่ต้องการ เนื่องจากขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุด

     ปัญหาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภท ระบบการจัดการ การจัดเก็บ และการบริการ
                             

ลักษณะบริการสอน/แนะนำเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)

ก.      บริการสอน/แนะนำการใช้และการค้นคว้า (Library Instruction Services) บรรณารักษ์อ้างอิงจะจัดการบริการสอน/แนะนำผู้ใช้เกี่ยวกับ หลักการค้นสารสนเทศ การใช้เครื่องมือค้นทรัพยากรสารสนเทศ และสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดบริการ เช่น การค้นจากหัวเรื่อง แลการกำหนดคำสำคัญ การใช้ตัวดำเนินการ การค้นฐานข้อมูลเฉพาะรายชื่อ

                วัตถุประสงค์

                                เพื่อให้ผู้ใช้สามารถได้มาในสิ่งที่เหมาะสม และตรงต่อความต้องการในการได้มาซึ่งข้อสนเทศ 

                นอกจากจะแนะนำและคัดเลือกหนังสือที่มีในห้องสมุดแล้ว บรรณารักษ์อ้างอิงยังให้บริการครอบคลุมถึงการให้คำแนะนำสิ่งพิมพ์หรือทรัพยากรอื่นที่ออกมาใหม่ และนำเสนอเป็นระยะๆ แก่ผู้ใช้  

                ห้องสมุดประชาชนยังให้ความสำคัญของบริการนี้มาก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอ่าน และจัดหาทรัพยากรที่เหมาะสมต่อความต้องการของผู้ใช้ 


การให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)

เหมาะสำหรับการให้บริการสำหรับผู้ที่เป็นกลุ่มใหม่ที่เข้ามาใช้ห้องสมุด เช่น นักเรียน นักศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หรือกลุ่มบุคคลใหม่ที่เข้ามาอยู่ในชุมชน

    การบริการเป็นกลุ่มจะมีทั้งการบริการที่ไม่เป็นทางการ คือ เมื่อร้องขอ หรือการบริการที่เป็นทางการ ซึ่งห้องสมุดจะมีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้ ในห้องสมุดโรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย

    ลักษณะการบริการเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการในห้องสมุด แผนกต่าง ในห้องสมุด ทรัพยากรที่ห้องสมุดมี บริการห้องสมุดสำหรับผู้ใช้ และแนะนำให้รู้จักบุคลากรในแผนกต่างๆ

    การแนะนำอาจจะมีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และเสนอบนอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูล วิธีการสืบค้น วิธีการศึกษาค้นคว้า สำหรับใช้ประกอบการแนะนำ หรือการสอนผู้ใช้ห้องสมุด นอกเหนือจากการแนะนำโดยบรรณารักษ์

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่าการบริการทางตรงโดยบรรณารักษ์ หรือบุคลากรห้องสมุด

จะเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ มากกว่าการใช้สื่ออื่นๆ มาแทนในการแนะนำห้องสมุด

ลักษณะการให้บริการเป็นกลุ่ม

. นำชมห้องสมุด โดยการแนะนำเกี่ยวกับ

     ลักษณะทางกายภาพของห้องสมุด คุ้นเคยกับลักษณะทางกายภาพของห้องสมุด แผนที่ห้องสมุด

     แผนกบริการ สร้างความสัมพันธ์ในเบื้องต้นเพื่อการเข้ามาใช้ในครั้งต่อไป รู้จักเจ้าหน้าที่ห้องสมุด (บางแผนก) เช่น บรรณารักษ์อ้างอิง แผนกวารสาร

     การบริการหรือบริการพิเศษ เช่น การสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ บริการยืมระหว่างห้องสมุด บริการแฟ้มข้อมูล (Information Files)   บริการแนะนำแหล่งข้อมูลเฉพาะ (Subject Guide)

     อธิบายโดยสรุปเกี่ยวกับจัดระบบห้องสมุด และแนวทางค้นคว้าใน
ห้องสมุด เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงวิธีการได้มาซึ่งข้อสนเทศที่ต้องการ

     กฎระเบียบการใช้ห้องสมุด

                วัตถุประสงค์ของการแนะนำในลักษณะนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่ได้รับการแนะนำเข้ามาใช้

              ห้องสมุดในครั้งต่อไป และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดและผู้ใช้

. บริการสอนการใช้เครื่องมือการค้น  One-Short Lectures

วิธีการและลักษณะการบริการจะคล้ายกับการให้บริการในระดับบุคคล แต่จัดให้เป็นกลุ่มอาจจะทำเมื่อมีผู้ร้องขอ หรือห้องสมุดจัดบริการโดยกำหนดตารางเวลาในการให้คำแนะนำ ขอบเขตของเนื้อหาที่จะแนะนำเป็นครั้งๆ  วัตถุประสงค์ของการแนะนำ คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้า ใช้คู่มือค้น และทรัพยากรสารสนเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  การใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดออนไลน์ และการใช้ ฐานข้อมูลต่างๆ  หรือโปรแกรมใช้งานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

. บริการสอนการค้นคว้า 

มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้มีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy)  มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

พัฒนาให้ผู้ใช้

     สามารถเข้าถึงสารสนเทศ

     รู้จักการคัดเลือก วิเคราะห์สารสนเทศ และการใช้สารสนเทศ

     การประเมินและวิเคราะห์ทรัพยากร และการได้มาซึ่งข้อสนเทศที่ต้องการ

     จริยธรรมในการใช้สารสนเทศ

     การนำเสนอ

บรรณารักษ์จะสอนวิธีการสืบค้นสารสนเทศ วิธีรวบรวมข้อมูลทั้งในห้องสมุด และแหล่งสารสนเทศอื่นๆ

                การดำเนินการของบริการสอนการค้นคว้า 

1.      จัดเป็นโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ให้เลือก มีการจัดตารางเวลานัดหมาย ในห้องสมุดโรงเรียนอาจจัดโดยให้บรรณารักษ์ไปสอนในชั้นเรียนที่ผู้สอนประสงค์ให้นักเรียนทำรายงาน โดยเชิญบรรณารักษ์ไปบรรยายเกี่ยวกับวิธีการค้นคว้า 

2.      ห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย อาจมีกระบวนวิชาโดยตรงเกี่ยวกับการค้นคว้า หรือ มีความร่วมมือระหว่างผู้สอนและบรรณารักษ์ในการบรรยายเกี่ยวกับการค้นคว้า

3.     หรือมีตารางกำหนดการเรียนการสอนโดยห้องสมุดที่คิดเป็นหน่วยกิต หรือ ไม่มีหน่วยกิต ซึ่งจะขึ้นต่อนโยบายของแต่ละสถาบันการศึกษา

4.     ในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดบริการ และการค้นคว้า ห้องสมุดหลายแห่งจะจัดโปรแกรมสอนออนไลน์เพิ่มขึ้น


การสอนการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา

1.      การสอนเป็นรายวิชาอิสระ (Stand-Alone Course or Class) เป็นรายวิชาหนึ่งของหลัก-สูตรซึ่งอาจจะเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง

2.      การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (Course-Related Instruction) เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานั้นๆ

3.      การสอนแบบบรูณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-Integrated Instruction) เป็นการสอนที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยจัดทำหลักสูตรตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ และรูปแบบสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนและบรรณารักษ์จะต้องทำงานร่วมกันในการวางแผนและการดำเนินการสอนในลักษณะสอนเป็นทีม

4.     โปรแกรมสอนห้องสมุด (One short Instruction)  จัดสอน อบรม ปฏิบัติการโดยห้องสมุด

5.      บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials) เป็นการสอนผ่านเว็บไซต์มีการใช้สื่อประสม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

6.      สมุดฝึกหัด (Workbook) ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนกะทัดรัด และเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกทักษะการรู้สารสนเทศ


การบริหารจัดการ

การวางแผนการเตรียมการสอนการใช้ห้องสมุด ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

•  ประเมินความต้องการของผู้ใช้

•  กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์

•  การประชาสัมพันธ์โปรแกรมการสอน

•  เตรียมอุปกรณ์การสอน

•  เตรียมบุคลากร

•  เตรียมสถานที่

•  ปฏิบัติตามแผนงาน

          
 ที่มา :  http://oklib.swu.ac.th/news/askalibrarian.html   ที่มา : http://ilib.msu.ac.th/teachprogram/media_type.
                                                                                           php?keyword=&startrow=165