วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเภทห้องสมุด

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา บริการสารสนเทศ รหัสวิชา 203707

เมื่อ วันเสาร์ ที่ 2 กรกฏาคม 2554

ประเภทของห้องสมุด

1.           ห้องสมุดเฉพาะ      :     ตอบคำถามรวดเร็ว ได้ข้อมูลที่ต้องการ

     คือห้องสมุดซึ่งรวบรวมหนังสือในสาขาวิชาบางสาขาโดยเฉพาะ มักเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยราชการ องค์การ บริษัทเอกชน หรือธนาคาร ทำหน้าที่จัดหาหนังสือและให้บริการความรู้ ข้อมูล และข่าวสารเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ ห้องสมุดเฉพาะจะเน้นการรวบรวมรายงานการค้นคว้าวิจัย วารสารทางวิชาการ และเอกสารเฉพาะเรื่องที่ผลิตเพื่อการใช้ในกลุ่มนักวิชาการบริการของห้องสมุดเฉพาะจะเน้นการช่วยค้นเรื่องราว ตอบคำถาม แปลบทความทางวิชาการ จัดทำสำเนาเอกสาร ค้นหาเอกสาร จัดทำบรรณานุกรมและดัชนีค้นเรื่องให้ตามต้องการ จัดพิมพ์ข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์เฉพาะเรื่องส่งให้ถึงผู้ใช้ จัดส่งเอกสารและเรื่องย่อของเอกสารเฉพาะเรื่องให้ถึงผู้ใช้ตามความสนใจเป็นรายบุคคล
                   ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากการผลิตหนังสือลและสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยเฉพาะวารสารทางวิชาการรายงานการวิจัย และรายงานการประชุมทางวิชาการมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากมาย แต่ละสาขาวิชามีสาขาแยกย่อยเป็นรายละเอียดลึกซึ้ง จึงยากที่ห้องสมุดแห่งใดแห่งหนึ่งจะรวบรวมเอกสารเหล่านี้ได้หมดทุกอย่าง และให้บริการได้ทุกอย่างครบถ้วน จึงเกิดมีหน่วยงานดำเนินการเฉพาะเรื่อง เช่น รวบรวมหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ เฉพาะสาขาวิชาย่อย วิเคราะห์เนื้อหา จัดทำเรื่องย่อ และดัชนีค้นเรื่องนั้นๆ แล้วพิมพ์ออกเผยแพร่ให้ถึงตัวผู้ต้องการเรื่องราวข่าวสาร และข้อมูลตลอดจนเอกสารในเรื่องนั้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเภทนี้ จะมีชื่อเรียกว่า ศูนย์เอกสาร ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข่าวสาร หรือศูนย์สารนิเทศ เช่น ศูนย์เอกสารการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ศูนย์ข่าวสารการประมง เป็นต้น ศูนย์เหล่านี้บางศูนย์เป็นเอกเทศบางศูนย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด บางศูนย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานเช่นเดียวกับห้องสมุดเฉพาะ

2.           ห้องสมุดโรงเรียน     :     สอนการใช้

    เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนมัธยม และโรงเรียนประถมศึกษามีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรโดยการรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้อื่นๆ ตามรายวิชา แนะนำสั่งสอนการใช้ห้องสมุดแก่นักเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน แนะนำให้รู้จักหนังสือที่ควรอ่าน ให้รู้จักวิธีศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ให้รู้จักรักและถนอมหนังสือ และเคารพสิทธิของผู้อื่นในการใช้ห้องสมุดและยืมหนังสือซึ่งเป็นสมบัติของทุกคนร่วมกัน ร่วมมือกับครูอาจารย์ในการจัดชั่วโมงใช้ห้องสมุด จัดหนังสือและสื่อการสอนอื่นๆ ตามรายวิชาให้แก่ ครูอาจารย์

3.           ห้องสมุดเพื่อประชาชน     :      ช่วยหาสารสนเทศที่ต้องการ และ
                                                          พัฒนาทักษะการสืบค้น

                เช่นเดียวกับห้องสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดประชาชนดำเนินการโดยรัฐ อาจจะเป็นรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่นหรือเทศบาล แล้วแต่ระบบการปกครองของแต่ละประเทศ ตามความหมายเดิม ห้องสมุดประชาชนเป็นห้องสมุดที่ประชาชนต้องการให้มีในชุมชน หรือเมืองที่เขาอาศัยอยู่ ประชาชนจะสนับสนุนโดยยินยอมให้รัฐบาลจ่ายเงินรายได้จากภาษีต่างๆ ในการจัดตั้ง และดำเนินการห้องสมุดประเภทนี้เป็นบริการของรัฐ จึงมิได้เรียกค่าตอบแทน เช่น ค่าบำรุงห้องสมุด หรือค่าเช่าหนังสือ ทั้งนี้เพราะถือว่าประชาชนได้บำรุงแล้ว โดยการเสียภาษีรายได้ให้แก่ประเทศ หน้าที่ของห้องสมุดประชาชนก็คือ ให้บริการหนังสือเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต บริการข่าวสารความเคลื่อนไหวทางวิชาการและเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประชาชนควรทราบ ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและ การรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ให้ข่าวสารข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาด้านต่างๆ ของแต่ละคนและสังคม

4.           ห้องสมุดมหาลัย    :      ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว ช่วยค้น
                                                                                 สารสนเทศที่ต้องการใช้ห้องสมุด
                เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรโดยการจัดรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้อื่นๆ ในหมวดวิชาต่างๆ ตามหลักสูตร ช่วยเหลือในการค้นคว้าวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา ส่งเสริมพัฒนาการทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษาโดยจัดให้มีแหล่งความรู้ และช่วยจัดทำบรรณานุกรมและดัชนีสำหรับค้นหาเรื่องราวที่ต้องการ แนะนำนักศึกษาในการใช้หนังสืออ้างอิงบัตรรายการ และคู่มือสำหรับการค้นเรื่อง


       5.       ห้องสมุดแห่งชาติ

                    นับเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ดำเนินการโดยรัฐบาลทำหน้าที่หลักคือรวบรวมหนังสือสิ่งพิมพ์และสื่อความรู้ทุกอย่างที่ผลิตขึ้นในประเทศ และทุกอย่างที่เกี่ยวกับประเทศ ไม่ว่าจะจัดพิมพ์ในประเทศใด ภาษาใด ทั้งนี้เป็นการอนุรักษ์สื่อความรู้ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ มิให้สูญไป และให้มีไว้ใช้ในอนาคต นอกจากรวบรวมสิ่งพิมพ์ในประเทศแล้ว ก็มีหน้าที่รวบรวมหนังสือที่มีคุณค่า ซึ่งพิมพ์ในประเทศอื่นไว้เพื่อการค้นคว้าอ้างอิง ตลอดจนทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมบรรณานุกรมต่างๆ และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติออกเผยแพร่ให้ทราบทั่วกันว่ามีหนังสืออะไรบ้างที่ผลิตขึ้นในประเทศ ห้องสมุดแห่งชาติจึงเป็นแหล่งให้บริการทางความรู้แก่คนทั้งประเทศช่วยเหลือการค้นคว้า วิจัย ตอบคำถาม และให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับหนังสือ


บริการตอบคำถาม


1.           คำถามโดยตรง ขอคำแนะนำส่วนใหญ่ เป็นบรรณารักษ์
         แบบ Circulator


2.           คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริง Ready Reference (ผู้ช่วยบรรณารักษ์)
        ถาม-ตอบสนอง


3.           คำถามที่ต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริง Special Search.


4.           คำถามที่ต้องการการค้นคว้าวิจัย Research (เกินทรัพยากรที่มีใน
        ห้องสมุด) ใช้ระยะเวลานานในการสืบค้น


ประเภทการบริการ

1.           บริการโดยตรง  (Direct    Reference Service)


2.           บริการทางอ้อม (Indirect Reference Service)


บริการตอบคำถาม (Inquiring Service)
  บริการตอบคำถาม (reference service) เป็นบริการช่วยผู้ใช้ในการค้นหาคำตอบที่ต้องการ ซึ่งผู้ใช้อาจสอบถามด้วยตนเอง ที่โต๊ะบริการตอบคำถาม สอบถามทางโทรศัพท์หรือทางไปรษณีย์ ลักษณะของคำถามอาจเป็นคำถามทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด เช่น คำถามเกี่ยวกับแหล่งจัดเก็บและบริการหนังสือ วารสาร วัสดุไม่ตีพิมพ์ ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ สัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นต้น หรืออาจเป็นคำถามที่ต้องใช้หนังสือ หรือหลักฐานอ้างอิงในการค้นหาคำตอบ หรืออาจเป็นเรื่องของการแนะนำหนังสือ วารสาร วัสดุสารสนเทศอื่นๆ ให้เลือกอ่านตามความสนใจ      

การบริการสมัยใหม่

1.           บริการอีเมลล์ (E-Mail Service)
-                  E-Mail

-                  Web Form (แก้ปัญหาให้ผู้ใช้สามารถระบุความ
           ต้องการและรูปแบบความต้องการได้)

2.           บริการ Chat

-                  Basic Chat เช่น I’m voice, IP,  Skype, Video.

-                  Web call center


ความร่วมมือระหว่างหอสมุด
เพราะบรรณารักษ์ ไม่สามารถตอบคำถามได้ทุกคำถาม จึงต้องมีความร่วมมือร่วมกันระหว่างห้องสมุดต่างๆ อาจจะผ่านทางหน้าเว็บ แล้วลิงค์ผ่านไปทาง ห้องสมุดที่ดูแลเกี่ยวกับคำถามนั้นๆ โดยเฉพาะ 






1. Journal Link URL : http ://www.journallink.or.th
"Journal Link" เป็นฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยทั้งสิ้น 205 แห่ง ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งจัดเก็บวารสารทั้งวารสารภาษาไทยและวารสารภาษาต่างประเทศอย่างสะดวก ทันสมัย และรวดเร็วกว่า 17321 ชื่อ ยิ่งกว่านั้นผู้ใช้ยังสามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังวารสารที่มีการให้บริการบนอินเทอร์เน็ต (Internet) ได้อีกด้วย โดยมีวิธีสืบค้นได้หลายรูปแบบได้แก่ ค้นจากชื่อวารสาร เลข ISSN องค์กรหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับวารสาร และหัวเรื่อง (คำหรือวลี ซึ่งใช้แทนเนื้อเรื่องของวารสาร)

2. บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan) เป็นบริการที่ศูนย์สนเทศและหอสมุดมีข้อตกลงกับสถาบันบริการสารสนเทศอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุดได้ โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้าวิจัย และเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน เป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศชาติ โดยห้องสมุดบางแห่งไม่จำเป็นต้องจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศที่มีผู้ใช้น้อย

3. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)
อยู่ภายใต้คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เป็นความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการ คือ
1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
3. เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรห้องสมุดร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
4. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์
5. เพื่อส่งเสริมการค้นคว้า วิจัยตลอดจนการเขียนบทความทางวิชาการในทางบรรณารักษศาสตร์
ดำเนินการ และขยายวัตถุประสงค์เพิ่มเติมในด้านการพัฒนาและจัดทำระบบฐานข้อมูลของสถาบัน
อุดมศึกษาเอกชน เพื่อสนับสนุนการสร้างเครือข่ายระดับอุดมศึกษาของภาคเอกชน และของระดับประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 58 สถาบัน (URL : http://library.utcc.ac.th/thaipul)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น