วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สภาบัน


DATE  21/08/2554
บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สภาบัน
(Inter Library Loan – ILL)
                       ความหมาย
                       บริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศร่วมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบัน หรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่ง อื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน
        ระหว่างสถาบันสาขากับสถาบันศูนย์กลาง
        ยืมระหว่างสถาบันในประเทศ
        ยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศ
Extension services ห้องสมุดประชาชนยืมหนังสือหายากจาก หน่วยงานจดหมายเหตุ หรือพิพิธภัณฑ์มาแสดงนิทรรศการหนังสือหายาก
              วัตถุประสงค์
                               •        ส่งเสริมให้วิจัยและการศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการให้ยืมสำหรับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด
                               •        ให้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนคงที่เดิม
                               •        ให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง
        ความสำคัญของบริการ ILL
1.   ขยายความสามารถในการเข้าถึง
1)      ลดปัญหาการมีวัสดุห้องสมุดไม่พอเพียง  การใช้สารสนเทศ ผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลหรือผู้ใช้ของสถาบันเล็กที่มีข้อจำกัดทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และทรัพยากรสารสนเทศ
2)      ลดช่องว่างระหว่างสถาบันความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสารสนเทศ ห้องสมุดขนาดเล็กมีโอกาสได้ใช้สารสนเทศทัดเทียมกับผู้ที่อยู่ในเขตเมืองใหญ่ ผู้ใช้สามารถใช้ทรัพยากรของสถาบันที่อยู่ห่างไกลได้
3)      ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง
4)      มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่า  คุ้มทุน
5)      ช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน โดยกลายเป็นการยืมแทนการซื้อ
6)      ช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่หายากที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น
7)      เพิ่มความก้าวหน้าสร้างความเข็มแข็งการจัดการ การบริการในกลุ่มห้องสมุด
8)      สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการ
        งาน ILL ประกอบด้วย
1.       ขอยืม (Borrowing)
2.       ให้ยืม (Lending)
3.       Primary (intra-library) loans
            Secondary (inter-library) loans  Library administration considers ILL to be a basic serviceฝ่ายบริหารห้องสมุดในระดับอุดมศึกษา จะคำนึงว่าการให้บริการยืม ระหว่างห้องสมุด เป็นบริการหลัก  (Basic service)  ส่งเสริมการศึกษาและวิจัย



บริการข่าวสารทันสมัย
Current Awareness Service-CAS
Van Brakel (1997:127) บริการช่วยผู้ใช้ให้ได้รับข่าวสารทันสมัยและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในในสาขาที่สนใจ
                describes CAS as keeping end-users updated on newinformation and developments in their fields of interest.
Hamilton (1995:3)  บริการที่จัดสำหรับผู้รับด้วยการให้สารสนเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุด ในเรื่อง/สาขาที่สนใจ หรือ ต้องการที่จะทราบ
                a service which provides the recipient with information on the latest developments within the subject areas in which he or she has a specific interest or need to know.
Kemp(1979:12-13) ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุด โดยมีบริการข่าวสารทันสมัยเป็นระบบที่ทำการตรวจสอบ/วิเคราะห์เอกสารในเรื่องใหม่ๆ โดยทำการคัดเลือกให้ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ส่วนบุคคล หรือ เป็นกลุ่ม และ ทำการจัดเก็บบันทึกเพื่อจัดส่งให้ตามความต้องการของผู้ใช้
                current awareness as knowledge of recent developments and CAS as systems for reviewing newly available documents, selecting items relevant to the needs of an individual or group, and recording them so that notifications may be sent to those individuals or groups to whose needs they are related. These services thus involve the review of documents, the selection of relevant items and notification of the users.
                บทบาทในการจัดเตรียมการเข้าถึงสารสนเทศ สิ่งสำคัญคือ การเลือกแหล่งสารสนเทศ เช่น จากแหล่งทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์, แหล่งเครือข่ายภายใน เป็นต้น ด้วยรูปแบบบริการใหม่ สะท้อนจากรูปแบบจากเดิมแค่ just-in- case หมายถึง สืบค้นเรื่องที่ต้องการเป็นเรื่องๆ มาเป็น just-in-time ค้นให้ทันเวลาที่ต้องการ และมาเป็น just-for-you ค้นเรื่องตามที่ผู้ใช้ต้องการ สิ่งเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้บริการส่งสำเนาวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (electronic document delivery services) และพิจารณาถึงการเจรจาต่อรองเรื่อง licences งบประมาณ และการสร้างความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (consortia) (Morris and Blagg, 1998)
บริการ CAS
           1.      Documents cards  e-mail more Fulltext
           2.      Personal notification  books Articles  จดหมาย Tel e-letter TOC
           3.      Commercial database producers/vendors

            4.     Personal bibliographic databases  Procite, ReferenceManager,EndNote,LibraryMaster,DB/TextWorks and Bibliocite
          5.       Electronic clipping services   Dow Jones-CustomsClips, iQNewsClip
          6.       Push technology หรือ Webcasting  ส่งข้อมูล  และสารสนเทศไปบนอินเทอร์เน็ตอย่างอัตโนมัติ ส่วนใหญ่จะเป็นเว็บไซต์ประเภทข่าวสาร เช่น CNNPN , ABCNEWS   (Microsoft Direct Push) 
                 การจัดส่งบริการ CAS
                บริการสารสนเทศทันสมัยจะมีประโยชน์เมื่อ สามารถตอบสนอง
        วัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ
                       •      ให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ และตามความต้องการต่อผู้รับ
                       •      จัดส่งทันที
                       •      จัดส่งให้อย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
                       •      การจัดส่ง หรือเผยแพร่บริการสามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
                                1.     Print
                                2.     Computer
                                3.     Telecomms
             การจัดการบริการ CAS
                1.  ความถี่ในการจัดส่ง
               •   ความถี่ในการจัดส่ง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของบริการสารสนเทศทันสมัย ซึ่งผู้ให้บริการต้องพิจารณาช่วงความถี่ในการจัดส่งให้เหมาะสม เนื่องจากเป้าหมายหลักของบริการสารสนเทศทันสมัยคือ การจัดส่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่ต้องการใช้ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถใช้
               •    ประโยชน์จาก สารสนเทศนั้นได้อย่างเต็มที่ ตามปรัชญาของการบริการ คือ “The right book to the rightperson at the right time.” ซึ่งลักษณะขององค์กรจะเป็นตัวกำหนดความเหมาะสมของความถี่ในการจัดส่ง เช่น ถ้าเป็นศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานด้านการเงิน หรือที่ปรึกษาด้านการจัดการ ย่อมต้องการให้จัดส่งบริการให้ทุกวัน ในหน่วยงานวิจัยอาจต้องการทุกสัปดาห์ บางแห่งอาจต้องการให้จัดส่งรายเดือน โดยปกติความถี่ในการจัดส่งบริการสารสนเทศทันสมัยอย่างน้อยควรต้องจัดส่งเดือนละครั้ง ในองค์กรที่เพิ่งเริ่มจัดบริการสารสนเทศทันสมัย อาจเริ่มต้นด้วยการจัดทำเป็นรายสัปดาห์ก่อน เพื่อที่จะได้มีเวลาปฏิบัติงานอื่น และไม่เป็นการเว้นช่วงห่างเกินไป
      2.     การให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้ดังกล่าว ห้องสมุด หรือหน่วยงานบริการสารสนเทศอาจขอความร่วมมือจากผู้ใช้ในการบอกรับวารสารที่ออกโดยสมาคมวิชาชีพที่ผู้ใช้เป็นสมาชิก เนื่องจากจะได้รับส่วนลดในอัตรของสมาชิก และอีกประการหนึ่งคือ การบอกรับเป็นรายบุคคลจะเสียค่าบอกรับเป็นสมาชิกในอัตราที่ถูกกว่าการบอกรับในนามสถาบัน หรือองค์กร และสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ มักมีการออกเอกสารของสมาคม อาจเป็น วารสารจดหมายข่าว รายงานการประชุมรายงานอื่น ๆ ซึ่งเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่เป็ประโยชน์และอาจได้รับมาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือ ได้รับในอัตราสมาชิก และสมาชิกที่บอกรับ ไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บนอกจากนี้ การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการประชุม สัมมนา นิทรรศการ การฝึกอบรม ไว้ในบริการจะเป็นประโยชน์ต่อ  ผู้ใช้บริการอย่างยิ่ง ห้องสมุดอาจแจ้งความจำนงไว้ที่สมาคมวิชาชีพ สถาบันต่างๆ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ให้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สถาบันบริการฯ ทราบ และจะขอบคุณมากหากจัดส่งรายงานการ
ประชุม หรือเอกสารประกอบการประชุมสัมมนา หรือ โปรแกรมการประชุมมาให้ ห้องสมุดอาจพิจารณาจัดคอลเล็คชั่นให้กับเอกสารเหล่านี้ สำหรับในสถาบันการศึกษาเอกสาร ตำรา รายงานการวิจัย ที่ได้รับทุนจากสถาบันมักเป็นสิทธิของสถาบัน ดังนั้น จึงควรแจ้งไว้ในบริการด้วยว่า อยู่ในระหว่างกำลังดำเนินการหรือ ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบันมีทั้งข้อมูล Full-text ทั้งที่เป็นบทความวารสารและหนังสือพิมพ์ที่ให้บริการในลักษณะออนไลน์ แต่มีข้อด้อยคือ ในช่วงที่มีผู้ใช้บริการเครือข่ายสูงจะทำให้ความเร็วในการเข้าถึงช้าลง หรืออาจเข้าใช้ไม่ได้เลย และบางฐานข้อมูลกำหนดเวลาในการเข้าใช้บริการเพียงสั้น ๆ และอีกประการหนึ่งคือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่มีข้อดีประการสำคัญ ข้อมูลทันสมัย เนื่องจากผู้ผลิตทำการปรับปรุงฐานข้อมูลอยู่เสมอ ปรับปรุง ทุกครั้ง
ที่ผลิต สิ่งพิมพ์ออกมา ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของบริการสารสนเทศทันสมัย เนื่องจาข้อมูลที่ค้นได้ส่วนใหญ่เป็น สารสนเทศที่ผลิตในต่างประเทศ และอาจไม่มีในประเทศไทยซีดี-รอม เป็นแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านระบบการสื่อสาร ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ค่าใช้จ่ายถูกกว่าข้อมูลอาจล้าสมัยกว่าฐานข้อมูลออนไลน์แต่ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้มีการปรับปรุงทุกระยะ อาจทุก ๆ 1 หรือ 2 หรือ 3 เดือน และจัดส่งแผ่นที่ปรับปรุงข้อมูลแล้วมาให้ห้องสมุด อย่างไรก็ตาม ยังคงมีค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านซีดี-รอม และเครื่องพิมพ์









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น